ในฐานะหมอกระดูกต้องยอมรับว่า Calcium เปรียบเสมือนเพื่อนรักคนหนึ่งก็ว่าได้ แต่การได้รับ Calcium ในปริมาณสูงเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาตามมา เราคงไม่ต้องการให้ “เพื่อนรัก..หักเหลี่ยมโหด” ใช่มั้ยครับ
ทางการแพทย์เรียกระดับ Calcium ที่สูงผิดปกตินี้ว่า “Hypercalcemia” การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ร่างกายจะได้รับ Calcium ในปริมาณเพียงพอและจะไม่ทำให้เกิดภาวะ Hypercalcemia
แต่ในบางภาวะดังต่อไปนี้อาจ
– โรคประจำตัว เช่น โรคต่อม Parathyroid, มะเร็งปอด, วัณโรค เป็นต้น โรคเหล่านี้กระตุ้นการสลายก
– ร่างกายขาดน้ำในระดับรุนแร
– ยาบางชนิด มีฤทธิ์กระตุ้นให้ระดับ Calcium สูงขึ้น เช่น ยาขับปัสสาวะ (ทำให้ร่างการขาดน้ำ), ยารักษาโรคจิตเวชกลุ่ม Lithium (กระตุ้นให้ต่อม Parathyroid หลั่งฮอร์โมนมากขึ้น) แม้ยาเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุ
– มีอีกประเด็นที่ต้องขอนำเส
– อาหารเสริมพวกที่เสริม Calcium และพวกที่เสริม Vitamin D การทานอาหารเสริมเหล่านี้ใน
ข่าวดีคือภาวะ Hypercalcemia ในระดับที่ไม่สูงมากมักไม่มีอาการใดๆ ไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดในระดับสูง อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายมาก มาย ดังนี้
ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ คลื่นใส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ขับถ่ายผิดปกติ(ทั้งท้องผูก และท้องเสีย) ปวดท้อง
ระบบกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อกระตุก ตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ระบบประสาท กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ สับสน ซึม และอาจหมดสติได้
ระบบทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย นิ่วในไต ไตวาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ (อาจจะ)กระตุ้นให้โรคหลอดเลือดหัวใจกำเริบ
ผลข้างเคียงก็ดูเยอะอยู่นะครับ แต่ไม่ต้องกลัวจนเกินเหตุ ขอย้ำนะครับว่าอาหารที่ทานมีโอกาสทำให้ Calcium เกินน้อยมาก การทานเสริมในประมาณที่เหมาะสมก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเช่นกัน หรือหากถึงขั้นระดับ Calcium เริ่มสูงขึ้นมาจริงๆ ก็ไม่ได้ก่อปัญหาแต่อย่างใดพยายามดื่มน้ำมากๆและหยุดเสริม Calcium ก็หายแล้ว ดังนั้น Calcium ก็ยังคงเป็นเพื่อนรักที่ดีข องเราต่อไป