กระดูกและข้อ
เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยิน เสียงลั่น
แกร๊กๆหรือเสียงคลิ้กจากข้อ เข่าของตัวเอง พอไปถามเพื่อนๆ ก็มักจะได้คำตอบว่าระวังเป็ นโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ยินได้ฟังคำตอบแบบนี้ ก็คงทำเอาหลายๆคนคิดมากไปตา มๆกันจริงมั้ยครับ
ความเป็นจริง คือ เสียงลั่นในข้อเข่าไม่ได้หม ายความว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเสมอไป จริงๆแล้วมันเกิดได้จากสาเห ตุต่างๆ ดังนี้
เส้นเอ็นรอบข้อยึดตึง ทำให้เวลาจะขยับข้อเข่าเส้น เอ็นมีการสะดุดกับสันกระดูก บริเวณเข่าและเกิดเสียงลั่น ขึ้นมา แบบเดียวกับตอนที่เราดัดข้อนิ้วมือเล่นนั่นแหละครับ การลั่นแบบนี้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะเวลานั่งนานๆแล้วจ ะลุกยืนครับ
ฟองอากาศเล็กๆ การเปลี่ยนแปลงความดันในข้อ เข่าทำให้เกิดฟองอากาศแทรกตัวอยู่ในน้ำไขข้อ ฟองเหล่านี้จะถูกบีบแตกตอนที่เราขยับข้อเข่า ทำให้เกิดเสียงลั่นตามมา เสียงลั่นจากฟองอากาศแตกตัว นี้ไม่เป็นอันตราย
ข้ออักเสบ เช่น ข้อเข่าอักเสบจากโรคเกาต์ รูมาตอยด์ จะทำให้ผิวกระดูกอ่อนของข้อ เข่าบวมตัว เมื่อเราขยับข้อเข่า ผิวกระดูกอ่อนนี้ก็จะเสียดสีกัน เกิดเสียงลั่นในข้อได้ แต่นอกจากเสียงลั่นแล้วจะมี อาการปวดและข้อบวมร่วมด้วยซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
ข้อเข่าเสื่อม ถือว่าเป็น “แพะ” ตัวใหญ่ก็ว่าได้ เข่าลั่นเมื่อไหร่ใครๆก็โทษ “ข้อเข่าเสื่อม” จริงอยู่ที่ข้อเข่าเสื่อมจะ มีผิวข้อบางส่วนสึกหรอไม่เรียบ เวลาขยับจึงเสียดสีกันเกิดเสียงลั่นได้ แต่คนธรรมดากว่าจะเสื่อมถึงขั้นนี้ต้องใช้เวลาครับ อย่างน้อยอายุไม่ควรต่ำกว่า 50 ปี วัย 20-30 ปีถ้าได้ยินเสียงข้อเข่าลั่นก็แทบจะตัดประเด็นนี้ทิ้งได้เลย
ข้อสะบ้าเข่าเสียดสี ชื่อทางการคือ “Patellofemoral pain syndrome” หรือชื่อเล่นว่า “Runners Knee” เกิดจากแรงดึงของกล้ามเนื้อ ต้นขาที่ไม่สมดุลร่วมกับการ ใช้งานซ้ำๆต่อเนื่อง ผิวด้านในของสะบ้าเข่าจะเสียดสีกับกระดูกต้นขาสะสมเรื่ อยๆจนเกิดภาวะนี้ขึ้นมา วงการนักวิ่งคงรู้จักกันดี เพราะนอกจากจะมีเสียงลั่นแล้วก็ยังปวดด้วย อาจถึงขั้นต้องพักการวิ่งกั นเลยทีเดียว
การบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็นฉีกขาด หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาดหรื อแม้แต่กระดูกอ่อนบาดเจ็บก็ ทำให้เกิดเสียงลั่นได้ มีทั้งแบบเฉียบพลัน เช่น เอ็นไขว้หน้าขาดขณะเล่นกีฬา จะได้ยินเสียงลั่นร่วมกับปวดและบวมอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นลุกยืนไม่ไหวต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาโดยด่วน หรืออาจเป็นแบบเรื้อรัง คือบาดเจ็บมานานจนหายแล้วแต่มีพังผืดขึ้นในข้อและทำให้ เกิดเสียงลั่นเวลาขยับได้ อาจมีอาการปวดหรือเสียวในข้อร่วมด้วยแต่รุนแรงน้อยกว่า แบบเฉียบพลัน